การไทเทรตกรด – เบส

การไทเทรต (Titration) เป็นวิธีการหาปริมาณของสารละลายมาตรฐาน (Standard

Solution)สารที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน โดยให้ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายที่ไม่ทราบ

ความเข้มข้นแต่ทราบปริมาตร (Unknown sample) และใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เป็นเกณฑ์

ในการบอกจุดยุติ (End Point) เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากันพอดีกันตามจุดสมมูล (Equivalent

Point) ก็จะทราบปริมาตรของสารละลายมาตรฐานแล้วนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาความเข้มข้น

ของสารละลายอื่นได้

จุดยุติ  (End Point)  คือจุดที่กรดกับเบสทำปฏิกิริยาพอดีกันโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสี

ของอินดิเคเตอร์

จุดสมมูล (Equivalent Point) หรือจุดสะเทิน คือจุดที่กรดกับเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน

ตามสมการที่ดุลแล้วโดยกรด-เบสหมด เหลือเกลือกับน้ำ

 pH ของปฏิกิริยาสะเทิน ปฏิกิริยาสะเทินจุด pH ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 7 แต่จะขึ้นอยู่กับ

ชนิดของกรดเบสดังนี้

ในการไทเทรตกรดเบส  ใช้อินดิเคเตอร์บอกจุดยุติระหว่างกรด-เบส   โดยอินดิเคเตอร์

ที่เหมาะสมจะเปลี่ยนสีที่จุดสมมูล   ดังนั้นควรเลือกอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีตรงช่วงจุดสมมูลหรือ

ใกล้เคียงมากที่สุด

วิธีการไทเทรตกรด – เบส

คือ นำสารละลายกรด – เบสตัวอย่างที่ต้องการหาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลาย

เบส – กรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้น หมายความว่า ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด

จะต้องใช้สารละลายมาตรฐานที่เป็นเบสมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลาย

มาตรฐานที่ใช้ จากนั้นจึงนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่าง ในทางตรงกันข้าม

ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส ก็จะต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด

สารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นแน่นอนแล้ว จะถูกบรรจุอยู่ในเครื่องแก้วที่เรียกว่า

บิวเรตต์ ซึ่งจะมีก๊อกไขเปิด – ปิดเพื่อหยดสารละลายมาตรฐานลงมายังขวดรูปกรวยที่บรรจุ

สารละลายตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ไว้แล้ว

ในการไทเทรตจะค่อยๆ หยดสารละลายมาตรฐานลงมาทำปฏิกิริยากับสารละลายตัวอย่าง

ในขวดรูปกรวย เขย่าหรือหมุนขวดรูปกรวยเพื่อให้สารผสมกัน ไทเทรตจนกระทั่งอินดิเคเตอร์

เปลี่ยนสีจึงหยุดการไทเทรต จากนั้นให้บันทึกปริมาตรสารละลายมาตรฐานที่ใช้

เพื่อนำไปคำนวณหา pH ของสารละลาย

http://www.lakelandschools.us/lh/lburris/pages/acid-base.htm

รูปแสดงการอ่านค่าปริมาตรของเหลว

(ที่มา : สุนทร พรจำเริญ เอกสารประกอบการสอนเรื่องกรด-เบส โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)

ใส่ความเห็น